วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืน



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี หัวหน้าโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิสาหกิจชุมชนแฮนอินแฮน อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

        จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม - 10 กันยายน 2557
                                                                                      รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 กันยายน - 10 ตุลาคม 2557       
โดยแผนการฝึกอบรม โครงการ Hand in Hand อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีหัวข้อในการฝึกอบรม 2 หัวข้อ
        1. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บเสื้อเสื้อโปโล
        2. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บเสื้อชุดนักเรียน      
ในการนี้ทีมงาน ที่ลงพื้นที่ Hand in Hand อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้ให้คำแนะนำถึงขั้นตอนการดำเนินงานในการอบรมเชิงปฏิบัติการและติดตามอย่างไกล้ชิด 








วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน (พื้นที่จังหวัดนราธิวาส)


วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้  ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗  ณ ห้องประชุม โรงงาน แฮนด์ อิน แฮนด์  อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส


สาระสำคัญ

๑. บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ
๑.๑ ด้านการบริหารจัดการโครงการ
๑.๒ ด้านกิจกรรมการอบรมให้กับพนักงาน
๑.๓ ด้านกิจกรรมการจัดประชุม
๒. คุณสมบัติของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ


๓. การดำเนินงานโครงการ
๓.๑ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ รวมกันไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
๓.๒ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมระหว่างที่ปรึกษา ผู้ผลิตสินค้า เพื่อให้คำสั่งการผลิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีในการสนับสนุนให้มีคำสั่งการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมด้วย
๓.๓ ที่ปรึกษาต้องจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากร
๓.๔ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมความร่วมมือภาคชุมชน จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อแสดงออกถึงความร่วมมือของชุมชนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และโรงงาน



































วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน (พื้นที่จังหวัดยะลา)


วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้  ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗  ณ ห้องประชุม โรงงาน แฮนด์ อิน แฮนด์  อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

 สาระสำคัญ

๑. บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ
๑.๑ ด้านการบริหารจัดการโครงการ
๑.๒ ด้านกิจกรรมการอบรมให้กับพนักงาน
๑.๓ ด้านกิจกรรมการจัดประชุม

๒. คุณสมบัติของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ


๓. การดำเนินงานโครงการ
๓.๑ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ รวมกันไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
๓.๒ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมระหว่างที่ปรึกษา ผู้ผลิตสินค้า เพื่อให้คำสั่งการผลิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีในการสนับสนุนให้มีคำสั่งการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมด้วย
๓.๓ ที่ปรึกษาต้องจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากร
๓.๔ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมความร่วมมือภาคชุมชน จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อแสดงออกถึงความร่วมมือของชุมชนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และโรงงาน





การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน (พื้นที่จังหวัดปัตตานี)


วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ การประชุม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้  ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗  ณ ห้องประชุม โรงงาน แฮนด์ อิน แฮนด์ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

 สาระสำคัญ

๑. บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ
๑.๑ ด้านการบริหารจัดการโครงการ
๑.๒ ด้านกิจกรรมการอบรมให้กับพนักงาน
๑.๓ ด้านกิจกรรมการจัดประชุม

๒. คุณสมบัติของผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ

๓. การดำเนินงานโครงการ
๓.๑ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ รวมกันไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
๓.๒ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีการประชุมระหว่างที่ปรึกษา ผู้ผลิตสินค้า เพื่อให้คำสั่งการผลิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีในการสนับสนุนให้มีคำสั่งการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมด้วย
๓.๓ ที่ปรึกษาต้องจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากร
๓.๔ ที่ปรึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมความร่วมมือภาคชุมชน จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อแสดงออกถึงความร่วมมือของชุมชนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และโรงงาน


อบรมการบริหารจัดการธุรกิจสำหรับผู้บริหารสถานประกอบการ


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมมือกับสถานประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  จัดอบรมสำหรับผู้บริหาร เพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ และการตลาด ในอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ขับเคลื่อนโครงการอุตสาหกรรมเพื่อขจัดปัญหาความยากจน และมุ่งสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ณ ห้องประชุมโอบฟ้า ชั้น ๕ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


หัวข้อการอบรม

 1. การสื่อสารที่ดีสำหรับผู้บริหาร  
 วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แวอาซีซะห์  ดาหะยี

 2. การบริหารจัดการบุคคล
 วิทยากร ดร.สุชีพ พิริยสมิทธิ์

 3. การบริหารการผลิต
 วิทยากร ดร.ณรงค์ศักดิ์ จิตณรงค์รัตน์

 4. การบริหารการตลาด
 วิทยากร รองศาสตราจารย์ อัปสร อีซอ

 5. หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์องค์กร
 วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แวอาซีซะห์  ดาหะยี

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี หัวหน้าโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา บริษัทปริ้นเซสบรา จำกัด บริษัทไทย โกลบอล ดีไซน์ จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท อาร์เชอร์ สปอร์ต จำกัด และวิสาหกิจชุมชนแฮนอินแฮน อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 

        จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม 2557

       
โดยแผนการฝึกอบรม โครงการ Hand in Hand อำเภอรามัน จังหวัดยะลา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน โดยมีหัวข้อในการฝึกอบรม 2 หัวข้อ
        1. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บเสื้อผ้ากีฬา   จำนวนผู้เข้าอบรม   25  คน
        2. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บเสื้อโต้ป       จำนวนผู้เข้าอบรม   25  คน
ในการนี้ทีมงาน ที่ลงพื้นที่ Hand in Hand อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้ให้คำแนะนำถึงขั้นตอนการดำเนินงานในการอบรมเชิงปฏิบัติการและติดตามอย่างไกล้ชิด         




   แผนการฝึกอบรม โครงการ Hand in Hand อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน โดยมีหัวข้อในการฝึกอบรม 2 หัวข้อ
        1. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บเสื้อเชิ้ต   จำนวนผู้เข้าอบรม   40  คน
        2. การฝึกอบรมขั้นตอนการเย็บชุดชั้นในเด็กผู้หญิง       จำนวนผู้เข้าอบรม   10  คน

ในการนี้ทีมงาน ที่ลงพื้นที่ Hand in Hand อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ให้คำแนะนำถึงขั้นตอนการดำเนินงานในการอบรมเชิงปฏิบัติการและติดตามอย่างไกล้ชิด
               

 ในระหว่างการติดตามและแนะนำถึงขั้นตอนการดำเนินงานทีมงานที่ลงพิ้นที่ได้กล่าวถึงความห่วงใยที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี หัวหน้าโครงการโดยมีเจตนาในการขจัดปัญหาความยากจน และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและชุมชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และประเด็นสำคัญ เพื่อกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ท้องถิ่นชนบท ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมือง ให้ราษฎรมีรายได้ มีชีวิตความเป็นอยู่และสังคมที่ดีขึ้น โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แถลงข่าวลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ และการตลาด ในอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ขับเคลื่อนโครงการอุตสาหกรรมเพื่อขจัดปัญหาความยากจน และมุ่งสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
      
       วันที่ 18 มิถุนายน 2557 ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม




พิธีลงนาม
โครงการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการปรับปรุง การผลิต การจัดการ การตลาด ด้านการเงินและบัญชีในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราเครื่องเรือนและของตกแต่งในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้




  • โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย คุณกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และตัวแทนจากผู้ประกอบการ ร่วมลงนาม MOU ในครั้งนี้ โดยมีผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วม

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมเตรียมงานบันทึกลงนามความร่วมมือ (MoU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ

วันที่ 17 มิถุนายน 2557  คณะทำงานใน "โครงการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาด ด้านการเงินการบัญชีในอุตสาหกรรมไม้ยางพารา เครื่องเรือนและตกแต่งในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้"  และ "โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยทีมคณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการและบุคลากรฝ่ายอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกันเตรียมงานเพื่อจัดกิจกรรมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือบริการวิชาการ ประจำปี 2557 ในพื้นที่ ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล) ซึ่งจะจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในวันพุธที่ 18 มิถุนายน 2557 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เสนอโครงการ "อุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้"

ภาพเพิ่มเติม...
     ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ ๑๗๐๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้มอบหมายให้ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ นายสุทัศน์ รุ่งรวิวรรณ และนายธีรยุทธ์ มูเล็ง อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ  เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำเสนอข้อเสนอโครงการ “อุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้” เพื่อรับทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุม ๒ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโครงการดังกล่าว มี ผศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี และทีมงานจากคณะวิทยาการการจัดการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

   ผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้รับการพิจารณาให้เป็นที่ปรึกษาในโครงการดังกล่าว โดยยินดีเสนอขอบเขตการดำเนินงาน (เพิ่มเติม) ได้แก่ (๑) ยินดีรับผิดชอบงบประมาณในส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรที่เดินทางติดตามประเมินโครงการฯ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวนไม่เกิน ๔ ท่านต่อครั้ง (๒) ยินดีให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบกำกับดูแลโครงการหรือหัวหน้าโครงการ หรือผู้แทนเข้าร่วมประชุมกับจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานในโครงการฯ หรือร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดขึ้น   ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะแจ้งผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยฯ ทราบและตอบรับยืนยันการดำเนินงานโครงการ และนัดหมายทำสัญญาดำเนินงานร่วมกันต่อไป
    สำหรับเป้าหมายของการดำเนินงานในโครงการนี้ คือ ที่ปรึกษาหรือมหาวิทยลัยราชภัฏยะลา จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้มีคำสั่งซื้้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่โรงงานตามโครงการ Hand in Hand จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ อ.รือเสาะ จ. นราธิวาส, อ.รามัน จ.ยะลา และ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อให้เกิดการจ้างแรงงาน จำนวนไม่น้อยกว่า ๓๐๐ คน ในพื้นที่ โดยเริ่มดำเนินการประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ๒๕๕๗ โปรดติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่อไป

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

สำรวจพื้นที่โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้้

ภาพประกอบเพิ่มเติม...
เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ผศ.ดร.นันรัตน์ นามบุรี และ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมคณะ นำคณะผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสากรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมสภาพโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาโรงงานและการบริหารจัดการโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมใน "โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้" หรือโครงการ Hand in Hand ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและการจ้างแรงงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้
     การลงพื้นที่ครั้งนี้ เพื่่อสำรวจและประมวลข้อมูลที่ได้ในสภาพปัจจุบัน และนำเสนอแผนการพัฒนาต่อยอดต่อกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดำเนินการประสานโครงการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ๑๑ จังหวัดสงขลา) ให้เกิดการบริหารจัดการโรงงาน ๓ แห่ง ได้แก่ ในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส, อ.รามัน จังหวัดยะลา และ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี มีคำสั่งซื้อและเกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานและการจ้างงานอย่างต่อเนื่องต่อไป นับเป็นโครงการหนึ่งที่นับเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ ที่จะร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จต่อไป
    นอกจากนั้น ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ อธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์  และคณะผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปในพื้นที่ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานโครงการนี้ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีโอกาสเป็นไปได้จริงในอนาคต [ภาพเพิ่มเติม...]

คณะวิทยาการ มรย. ประชุมเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอโครงการ "กิจกรรมให้คำปรึกษาฯ"

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2557 ผศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประชุมเตรียมข้อมูลสำหรับไปนำเสนอข้อเสนอโครงการ “กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำด้านการปรับปรุงการผลิต การจัดการและการตลาดในอุตสาหกรรมไม้ยางพารา เครื่องเรือนและของตกแต่งในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้”  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับพิจารณาสนับสนุนกิจกรรมและดำเนินการสร้างความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการพิจารณาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งได้รับพิจารณาคัดเลือกให้ดำเนินกิจกรรมนี้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา  ทั้งนี้นับเป็นโครงการบริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก สร้างประโยชน์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล [ภาพประกอบเพิ่มเติม...]